วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แพทย์กระบี่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข


เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 เวลา 12.30 นาฬิกา นายแพทย์ อธิคม ดำดี แพทย์ประจำโรงพยาบาลกระบี่ นำแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ในโรงพยาบาลกระบี่ จำนวน 60 คน ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดยการเดินรณรงค์ชูแผ่นป้ายไปรอบโรงยาบาลกระบี่ แล้วมารวมตัวปราศรัยที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลกระบี่ โดยนายแพทย์ อธิคม ได้อ่านแถลงการณ์จดหมายเปิดผนึกมีข้อความว่า

ตามที่กำลังจะมีการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เข้าพิจารณาในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งผู้ให้บริการทางการแพทย์โดยวิชาชีพแพทย์โรงพยาบาลกระบี่ ขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขด้วยเหตุผล 6 ประการคือ 1.บุคคลากรด้านสาธารณสุขไม่ได้คัดค้านการที่ผู้ป่วยจะได้รับการช่วยเหลือ เมื่อมีความเสียหายจากโรคภัยไข้เจ็บและเกิดจากกระบวนการรักษา การให้เงินช่วยเหลือเป็นการช่วยเหลือชั่วคราวไม่ยั่งยืน การช่วยเหลือที่ดีที่สุดคือการให้ผู้ป่วยกลับไปมีชีวิตที่ปกติสุขหรือใกล้เคียงมากที่สุด โดยการฟื้นฟูสุขภาพ การใช้กายอุปกรณ์ อุปกรณ์เทียม ฝึกอาชีพ แต่ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เป็นการช่วยเหลือในรูปเงินเพียงอย่างเดียว จึงไม่เหมาะสมกับการเปิดโอกาสให้บุคลากรอื่นที่แสวงหาผลประโยชน์ จากผู้ได้รับความเสียหายเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้ปัญหายุ่งยากมากขึ้น

2.ใช้อินเวสติกเคชั่นหรือคณะกรรมการที่จะตัดสินว่าบุคลากรสาธารณสุขผิดหรือไม่ผิด ตามร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์และกฎหมาย ทำให้การตัดสินไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและกฎหมาย 3.ถ้าการตัดสินพบว่าบุคลากรสาธารณสุขไม่ผิดผู้เสียหายก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือ แต่ถ้าตัดสินว่าบุคลากรสาธารณสุขผิดก็ทำให้บุคลากรไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากเป็นการตัดสินโดยกรรมการที่ไม่รู้เรื่องในทางการแพทย์ แต่ผลการตัดสินใจสามารถนำไปเป็นข้อมูลฟ้องศาลแพ่งและศาลอาญาได้ 4.บุคคลากรทางด้านสาธารณสุขจะขาดขวัญกำลังใจ ขาดความเชื่อมมั่น ความมั่นใจ ทำงานด้วยจิตใจที่หวาดผวา กลัวการฟ้องร้องที่จะเกิดขึ้นจึงใช้วิธีการรักษาแบบปกป้องตนเองดังนี้

ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ข้อ1.ปฏิเสธที่จะให้การรักษาเองใช้วิธีการส่งต่อผู้ป่วยมารับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัด ทำให้ต้องเข้าคิวรอนานโดยเฉพาะคิวการผ่าตัด จึงทำให้มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นจากการรอคิวนาน ข้อ 2. ค่อนข้างมากทำให้สินเปลืองค่าใช้จ่าย ผลที่ตามมาจะมีแพทย์ลาออกจากราชการหรือเปลี่ยนอาชีพ ไปประกอบอาชีพอย่างอื่นแทน ไปอยู่โรงพยาบาลเอกชนซึ่งมีภาระงานน้อยกว่าและเสี่ยงน้อยกว่า จึงเกิดผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ และในที่สุดผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างมากคือประชาชนทั้งประเทศ โดยเฉพาะประชาชนคนยากคนจน

5.เจตนารมณ์ของกฎหมายว่าต้องการลดการฟ้องร้องทางการแพทย์ แต่มีการเขียนในร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข มาตรา 34 ว่ากรณีที่ผู้เสียหายหรือทายาทไม่ตกลงยินยอมรับเงินค่าชดเชย และได้ฟ้องร้องผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ยุติการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เมื่อศาลมีคำพิจารณาถึงที่สุดให้พิจารณาจ่ายเงินจากกองทุนตามคำพิพากษา ให้จ่ายค่าสินไมทดแทน เป็นการเขียนจดหมายเพื่อชี้แนะและกระตุ้นให้ผู้รับบริการฟ้องบุคลากรสาธารณสุข นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการร่างกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ให้เห็นว่าการฟ้องบุคลากรทางการแพทย์เป็นสิ่งที่ทำได้เป็นปกติ จึงนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ของระบบสาธารณสุขไทย ที่มีการบังคับใช้กฎหมายเหนือจรรยาบรรณ

6.พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข หลายฉบับมีความต้องการแอบแฝงพลังอำนาจในการให้ หรือระดมเงินมากองไว้เพื่อใช่จ่ายจะมีเอ็นจีโอ กลุ่มเดิมเข้ามามีบทบาทเป็นคณะกรรมการมากมาย รัฐต้องสูญเสียเงินส่วนหนึ่งเป็นค่าเบี้ยประชุม เบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทางดูงาน หากดำเนินการในแบบเดิม มาตรา 41 พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะใช้จ่ายน้อยกว่ามาก

นายแพทย์ อธิคม ดำดี แพทย์ประจำโรงพยาบาลกระบี่ กล่าวอีกต่อไปว่า ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองเสียหายจากกรรับบริการสาธารณสุข ทำเกิดการฟ้องร้องระหว่างผู้รับบริการสาธารณสุข และผู้ให้บริการมากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกทางสังคมซึ่งขัดแย้งกับนโยบายปรองดองแห่งชาติ ที่น่ายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ในโอกาสที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของประเทศ บุคคลากรทางสาธารณสุขมีความปลื้มใจและมีความหวังว่า ปัญหาในทางสาธารณสุขจะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น

เพราะนายอภิสิทธิ์ มาจากพื้นฐานครอบครัวทางการแพทย์มีบิดาเป็นบรมครูทางการแพทย์ของประเทศไทย ที่ได้อบรมสั่งสอนวิชาแพทย์และจรรยาบรรณแพทย์แก่พวกเรา และมีความรู้ความเข้าใจถึงความเป็นไปของปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นอย่างดี แต่หากการตัดสินใจของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในเรื่องพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดยปล่อยไปตามร่างที่กลุ่มองค์กรเอกชนบางกลุ่มผลักดัน มติคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ได้ผ่านร่างไปแล้ว จะนำไปสู่ความหายนของระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ที่บรรพบุรุษของนายกรัฐมนตรี พระบำราศนราดูร เป็นผู้มีส่วนร่วมก่อสร้างขึ้นมา จึงขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ดี

ข้อมูลจาก...Krabi United.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นทั่วไป